JoopIE's Blog

Finding Others Lifestyles

Tuesday, August 16, 2005

Something About Glorn(กลอน)

ไม่รู้จะเขียนเรื่องอะไรดี ก็...เอาอันนี้ละกัน คือว่าที่มาของการเขียนเรื่องนี้ คือ เราเพิ่งแต่งกลอนเสร็จไปเมื่อเร็วๆนี้ จริงๆแล้วก็เคยคิดว่าทำยังไงมันถึงจะไพเราะเพราะพริ้งเสนาะนิ้งรัญจวนจิตผู้ยลพิศกรองกานท์(อ่า...ได้ feeling กับหัวเรื่องดีมะ แหะๆ) คำตอบ....ก็อยู่ในบทความนี้ล่ะครับ

หลายคนอาจจะเคยแต่งกลอน(ในที่นี้ขอพูดถึงแต่กลอนแปดนะ) แต่ก็ดังเช่นธรรมชาติทั่วไป ไม่ว่าเรื่องใดหากเราไม่ได้มีพรสวรรค์พิเศษหรือฝึกฝนเป็นประจำแล้ว เราย่อมไม่สามารถทำสิ่งนั้นๆได้อย่างคล่องแคล่วหรือเกิดผลเป็นที่น่าพอใจฉันใด การแต่งกลอนก็ฉันนั้น เราเคยแต่งบ่อยๆตอนเรียนมัธยมปลาย ซึ่งก็ไม่คิดว่ามันจะช่วยให้เราหน้าตาดีขึ้นแต่อย่างใด (มาตอนนี้ก็รู้แล้วว่ามันไม่ได้ช่วยให้หน้าตาดีขึ้นจริงๆ T_T) แต่หารู้ไม่ว่าประโยชน์ของมันจริงๆแล้วมากมายและมีค่ากว่าการที่ทำให้เราหน้าตาดีขึ้นซะอีก เพราะอย่างน้อยๆก็ทำให้คุณเป็นคนที่พร้อมจะมอบสิ่งดีๆให้กับคนอื่นโดยสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่มีค่ามากกว่าสิ่งของใดๆ นั่นคือกลอนซึ้งๆกินใจซักสองบทที่คุณแต่งขึ้นเอง โดยส่วนตัวผมคิดว่ามันจะทำให้ผู้รับมองและรู้สึกดีกับคุณมากขึ้น มากกว่าการที่คุณไปยันฮีทำหน้าตามาใหม่ให้เหมือนดาราด้วยนะ :D

เริ่มต้นขอออกตัวว่าเราไม่ได้แต่งกลอนเก่ง ไพเราะ และเชี่ยวชาญแต่อย่างใด เพียงแต่ได้ศึกษาความรู้หลักการหรือแนวทางการแต่งกลอนมาเท่านั้น จึงต้องการที่จะเผยแพร่ให้กับท่านผู้อ่าน อย่างน้อยก็เข้าทำนองรู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหามใช่มะ เอาล่ะ....เรามาเริ่มพิจารณาดูกันว่ากลอนที่เราเราท่านท่านฟังแล้วรู้สึกว่ามันเพราะเนี่ย มันเป็นอย่างไร

กลอนที่มีความไพเราะนั้นจะประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลักดังต่อไปนี้
1. ฉันทลักษณ์ที่ถูกต้อง(ประมาณ 98% นะ อีก 2 % คือเผื่อว่าเป็นเทคนิคหรือว่าการเล่นคำในบางส่วนของผู้ประพันธ์ ซึ่งอาจทำให้ผิดฉันทลักษณ์ไปเล็กน้อย แต่ก็ถือว่าไม่เป็นข้อเสียหายแต่อย่างใด)
2. เนื้อความมีสัมพันธภาพและเอกภาพ(อย่างนี้ Einstien คงแต่งกลอนเก่งเนอะ)
3. มีสัมผัสในแพรวพราวทั้งสัมผัสสระและอักษร(สัมผัสนอกอยู่ในเรื่องฉันทลักษณ์ไปแล้วนะ)
4. เริ่มต้นบทแรกได้ประทับใจ และจบบทสุดท้ายได้อย่างสวยงาม (อันนี้ผมว่ายากที่สุด)

ในส่วนนี้จะเป็นแนวทางที่ช่วยส่งเสริมให้เราแต่งกลอนดีๆซักบทเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตามแต่ครับผม
1. อ่านกลอนมาในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะของครูกลอนทั้งหลายทั้งในอดีตและปัจจุบัน
2. เป็นนายธนาคาร(ธนาคารศัพท์)
3. รู้จัก Synonym ของคำไทยพอสมควร (ใช้คำไทย แต่ดันใช้ศัพท์อังกฤษนะเรา อย่าว่าเราน้า......)
4. สุดท้ายคือ แต่งบ่อยๆ (แต่งกลอนนะ มะใช่แต่งงาน :D)

ฝากไว้ก่อนจบสักเล็กน้อยสำหรับท่านที่เคยแต่งกลอนแล้วคิดว่าการที่กลอนของเราไม่เพราะ
เนี่ย คงเป็นเพราะว่าเราไม่ได้ใช้ศัพท์หรูหราฟู่ฟ่าอลังการมารตะลึง ทำให้มันดู Low class หรือบางจุดบางที่มันลงคำได้ไม่ไพเราะ ก็ขอฝากไว้ว่าจริงในส่วนหนึ่งอย่างที่ท่านคิด แต่ก็ไม่จริงอยู่หลายส่วนดังนี้ครับ
1. ท่านลองไปอ่านกลอนของท่านสุนทรภู่แล้วจะพบว่าบรมครูกลอนของเรานั้น ไม่ได้ใช้คำศัพท์อะไรเลิศเลอเกินกว่าเราเราท่านท่านจะนึกถึง เพียงแต่ท่านสามารถนำคำคำนั้นมาใช้ได้อย่างเหมาะเจาะในวรรคกลอนวรรคนั้น ซึ่งทำให้แม้เป็นเพียงคำธรรมดาก็ก่อให้เกิดความไพเราะได้อย่างลงตัวและสง่างาม
2. ในการแต่งกลอนแต่ละครั้ง เราต้องคำนึงถึงระดับของผู้ที่เราหมายความถึง หรือผู้ที่เราจะแต่งกลอนนี้ให้ในบทประพันธ์นั้นด้วยครับ คำศัพท์สูงก็นั้นส่วนมากจะใช้เฉพาะในการแต่งกลอนถวาย หรือแต่งกลอนสำหรับของสูงครับ ดังนั้นหากเป็นการแต่งกลอนทั่วไป เพื่อจุดประสงค์ทั่วไป ไม่ใช่การแต่งเฉพาะสำหรับพิธีการสำคัญเกี่ยวกับชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เราก็ไม่ควรใช้คำศัพท์สูงๆเหล่านั้นเช่นกันครับ
แค่นี้ก็คงจะพอสำหรับการ post อะไรมีสาระๆ เป็นครั้งแรก ขอแนะนำและเชิญชวนผู้ท่าน
ทุกท่านไปอ่านเพิ่มเติมที่
http://www.geocities.com/poetichome/ ที่นี่เค้าจะมีในส่วนของการแต่งกลอนสำหรับผู้เริ่มต้น และวิธีการเริ่มต้นบทแรกและการจบบทสุดท้ายให้ประทับใจด้วยครับ สวัสดีครับ

1 Comments:

Post a Comment

<< Home